Asean Tourism

มรดกโลก

ปราสาทบาปวน นครธม

  ภาพจาก http://travelplaces2015.blogspot.com/2012/08/blog-post_12.html ปราสาทบาปวน จัดเป็นปราสาทแรกในกลุ่มปราสาทเมืองพระนคร มีทางเดินผ่านตัวปราสาทเป็นสะพานหินยกระดับทอดยาว ทางเดินเข้าผ่านโคปุระรูปกากบาท 3 ทาง ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ตั้งของปราสาทอยู่ในเขตพระราชวังหลวง เป็นปราสาทที่มียอดสูง มีหลักฐานจากการบันทึกของจิวต้ากวนราชทูตจากเมืองจีนในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวไว้ว่า ยอดปราสาทบาปวนเคลือบด้วยสำริดแลอร่ามแต่ไกล หากยอดไม่หักพังเสียก่อน คาดว่าปราสาทบาปวนอาจมีความสูงกว่าปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบันนี้ปราสาททรุดโทรมมากและกำลังได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง

เมืองประวัติศาสตร์วีกัน

ภาพจาก  http://en.wikipedia.org/wiki/Vigan  วีกัน เป็นเมืองมรดกโลกในประเทศฟิลิปปินส์ สร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21) จัดเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเกาะลูซอน ในจังหวัดอีโลโกสซูร์ (Ilocos Sur) ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ เป็นตัวอย่างของการวางผังเมืองที่ดีในยุคอาณานิคมสเปนในเอเชีย โดยวางผังเมืองเป็นรูปแบบเมืองการค้าของยุโรปในเอเชียที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมยุโรปได้อย่างกลมกลืน เป็นผลให้เกิดวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ของเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองวีกันยังคงรักษาเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยอาณานิคมของสเปนไว้ได้อย่างดี ถนน และตึกเป็นแบบสเปน อาคารบ้านเรือนเก่าแก่ทรงสเปนที่ยังมีสภาพสมบูรณ์อยู่มากในเขตเมืองเก่า มีโบสถ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณานิคมที่มีชื่อเสียง เช่น มหาวิหารวีกัน (Cathedral of Vigan) เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ถนนในเมืองนี้จึงอนุญาตให้เฉพาะรถม้าเท่านั้นที่สัญจรได้ ภาพจาก http://theaseannewsblog.blogspot.com/p/historic-town-of-vigan-philippines.html

เทือกเขาฮามิกิตัน

ภาพจาก http://somethingaboutnews.blogspot.com/2011/02/davor-vies-for-world-heritage-list-by.html ขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาฮามิกิตัน (Mount Hamiguitan Range Wildlife Sanctuary) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 75-1,637 เมตร โดยมีภูเขาฮามิกิตันมีความสูง 1,620 เมตร แนวภูเขาฮามิกิตันประกอบด้วยพื้นที่ 6,834 เฮกตาร์ (68.34 ตารางกิโลเมตร) ป่าไม้เป็นป่าแคระที่มีความพิเศษของต้นไม้เก่าแก่ในดินอัลตราเมฟิก (ultramafic soil) ซึ่งกำลังใกล้สูญพันธ์ ภูเขาและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์หลากหลายสายพันธุ์ แตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับระดับความสูง รวมทั้งนกอินทรีฟิลิปปินส์และนกกระตั้วฟิลิปปินส์ด้วย มีสายพันธุ์ที่หลากหลายของหม้อข้าวหม้อแกงลิง Nepenthes peltata ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่น มีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น 8 สายพันธุ์ที่พบได้บนภูเขาฮามิกีตันเท่านั้นด้วย พื้นที่บริเวณนี้ได้รับการประกาศเป็นได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าใน พ.ศ. 2546 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านธรรมชาติของฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2557…

เกาะสุมาตรา

ภาพจาก http://beautyof-theworld.blogspot.com/2013/08/tropical-rainforest-heritage-of-sumatera.html มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra) ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติกุนุงลูเซอร์(Guunung Leuser) อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบาริซานเซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) มีเนื้อที่รวม 2.5 ล้านเฮคเตอร์ (ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร) ป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา เป็นบริเวณนี้มีศักยภาพสูงที่สุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่กำลังสูญพันธุ์ เป็นที่อาศัยของพืชประมาณ 10,000 สายพันธุ์ รวมทั้งพืชเฉพาะถิ่น 17 ตระกูล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 200 สายพันธุ์ นก 580…

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน

ภาพจาก http://kotawisataindonesia.com/museum-purbakala-sangiran-sragen/ แหล่งโบราณคดีซังงีรัน เป็นบริเวณชั้นหินที่มีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่กว่า 1.5 ล้านปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 56 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งแหล่งโบราณคดี และเป็นแหล่งขุดค้นทางมนุษยวิทยา มีการขุดค้นพบซากฟอสซิสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 พบฟอสซิลมนุษย์โบราณ ประกอบด้วยฟอสซิล Meganthropus palaeo และ Pithecanthropus erectus/Homo erectus ซึ่งเป็นมนุษย์ยุคแรกเริ่มมีชีวิตอยู่เมื่อ 1.5-1.8  ล้านปีมาแล้ว จำนวนกว่า 50 ซาก และพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินของมนุษย์ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ แสดงให้เห็นถึงที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์และพัฒนาการทางวัฒนธรรมอันยาวนาน นับเป็นสถานที่สำคัญที่ในการศึกษาและทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น

วัดพรัมบานัน

ภาพจาก http://voyagista.com/category/inasia/indonesia/ ปรัมบานัน (Prambanan) หรือ จันดีปรัมบานัน (Candi Prambanan) หรือกลุ่มวัดพรัมบานัน (Prambanan Temple Compounds) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าบุโรพุทโธ เพราะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์ของฮินดู  คือ พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร และสัตว์เทพพาหนะ สร้างขื้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 จึงได้มีการเริ่มบูรณะขึ้นมา การบูรณะสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะปรัมบานันที่กว้างใหญ่ ในเขตชวากลาง ของอินโดนีเซีย ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไปทางตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์

ภาพจาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/7.html อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ (Lorentz National Park) ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปาปัวของอินโดนีเซีย เดิมรู้จักกันในชื่อ ไอเรียน จายา (Irian Jaya) ซึ่งหมายถึง นิวกีนีตะวันตก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโดยตั้งชื่อตามนักสำรวจชาวดัชท์  Hendrikus Albertus Lorentz  ซี่งได้เดินทางสำรวจพื้นที่แถบนี้ในปี พ.ศ 2452-2453 ในปี พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป่าไม้ อินโดนีเชียได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติของอินโดนีเชีย และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี พ.ศ. 2542

อุทยานแห่งชาติโคโมโด

ภาพจาก http://www.listofwonders.com/new-seven-wonders-of-nature ภาพจาก http://www.simplythemost.com/10-popular-tourist-attractions-in-indonesia ปัจจุบันมีมังกรโคโมโดเหลืออยู่บนโลกราว 4,000 ตัว กระจายอยู่บนสี่เกาะ คือ เกาะโคโมโด เกาะริงกา เกาะฟลอเรส และเกาะซุมบาวา โดยบนเกาะโคโมโดมีอยู่มากที่สุด คือกว่า 1,500 ตัว พวกมันกำลังถูกคุกคามให้ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากประชากรบนเกาะที่พวกมันอยู่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เหยื่อของมันถูกล่าจนลดน้อยลง และการขยายตัวของการเกษตรและกสิกรรมทำลายพื้นที่หากินของมันไปมาก ปัจจุบันมังกรโคโมโดจึงจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศอินโดนีเซีย อุทยานแห่งชาติโคโมโด ประกอบด้วยสามเกาะหลัก คือ เกาะโคโมโด เกาะริงกา เกาะปาดาร์ รวมทั้งเกาะเล็ก ๆ อีกมากมายที่รายรอบอยู่ มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 1,817 ตารางกิโลเมตร (เป็นแผ่นดิน 603 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรอาศัยอยู่ราว 4,000 คน…

เมืองประวัติศาสตร์มะละกาและจอร์จทาวน์

ภาพจาก http://may1849.blogspot.com/p/6.html มะละกา (อังกฤษ: Malacca; มาเลย์: Melaka) เป็นเมืองเอกของรัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในอดีตที่นี่เป็นเมืองท่าสำคัญที่เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายระหว่างชาติตะวันตกและตะวันออกต่อมา มะละกาได้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกทั้งโปรตุเกส, เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ อาคารในมะละกาจึงมีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมท้องถิ่น กับเจ้าอาณานิคมนั้น ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 มะละกาและจอร์จทาวน์ถูก ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีภูมิสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่ไม่ซ้ำใครทั้งในตะวันออกกลางและ เอเชียตะวันออกเฉียง

อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู

ภาพจาก http://may1849.blogspot.com/p/6.html อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู หรือที่เรียกในภาษามาเลย์ว่า Taman Negara Kinabalu เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกๆในมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 และเป็นสถานที่แห่งแรกในมาเลเซียที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2543 เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งใน โลก อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของรัฐซาบาห์ บนเกาะบอร์เนียว ทางตะวันออกของมาเลเซีย มีพื้นที่ 754 ตารางกิโลเมตร อยู่รอบๆภูเขาคินาบาลูซึ่งสูง 4,095.2 เมตร และเป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะบอร์เนียว ภายในอุทยานเป็นแหล่งที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์หลากหลายชนิด โดยแบ่งเขตแหล่งที่อยู่ออกตามสภาพทางภูมิศาสตร์ออกได้เป็น 4 เขต ได้แก่ ป่า lowland dipterocarp ป่าสนเขา ทุ่งหญ้าบนที่สูง และพุ่มไม้บนยอดเขา บริเวณภูเขาเป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้และพืชกินแมลงหลายสายพันธุ์ ที่มีชื่อเสียงคือสายพันธุ์ Nepenthes…

Free Web Hosting