กาดกองต้า จังหวัดลำปาง
ภาพจาก http://www.thailovetrip.com/view-bangkok.php?id_view=215
ข้อมูล กาดกองต้า หรือเรียกชื่อว่า ตลาดจีน ตั้งขนานอยู่กับลำน้ำวัง บนถนนตลาดเก่าตลอดทั้งสาย โดยจุดเริ่มต้นอยู่ตรงบริเวณเชิงสะพานรัษฎาไปจนสุดถนน ที่อยู่ กาดกองต้า ลำปาง เมืองลำปาง
กาดกองต้า หรือเรียกชื่อว่า ตลาดจีน ตั้งขนานอยู่กับลำน้ำวัง บนถนนตลาดเก่าตลอดทั้งสาย โดยจุดเริ่มต้นอยู่ตรงบริเวณเชิงสะพานรัษฎาไปจนสุดถนน
กาดกองต้า หมายถึง ตลาดตรอกท่าน้ำ ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของเมืองลำปางและภาคเหนือ เนื่องจากเมืองลำปางเป็นเมืองท่าค้าขาย ใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก จึงเต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ค้าหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อาคารบ้านเรือนจึงมีสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน ทั้งเรือนไทยแบบภาคกลาง ล้านนา พม่า และที่โดดเด่นมากคือเรือนแบบจีนและเรือนขนมปังขิงแบบตะวันตก
ปัจจุบัน กาดกองต้าถูกลดบทบาทลงไปมาก แต่ยังคงดำรงค์วิถีชุมชนเดิม รวมทั้งรักษาอาคารสิ่งก่อสร้าง จึงได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะ วัฒนธรรมที่สำคัญ รวมทั้งมีการจัดถนนคนเดินในทุกคืนวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. – 22.00 น.
วัดพระธาตุลำปางหลวง
ภาพจาก http://www.thailovetrip.com/view-bangkok.php?id_view=320
ตั้งอยู่ที่ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัย พระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย มีความสวยงามและอลังการด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นในแนวกำแพงใหญ่ ซึ่งทอดยาวกั้นทุกอย่างไว้ในบริเวณวัด ส่วนบันไดด้านหน้าเป็นนาคสองชั้น หัวนาคชั้นแรกเป็นมังกรคล้ายนาค ตามคตินิยมทางเหนือ ชั้นที่สองเป็นหัวนาคหัวเดียว
เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
ซุ้มพระบาท
สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเห ปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น
กุฏิพระแก้ว
เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปี มาแล้ว
วิหารพระเจ้าศิลา
เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้
พิพิธภัณฑ์
ภายในพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น สังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น
นอกจากนี้ วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว มีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี
ทั้งนี้ วัดพระธาตุลำปางหลวง เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 5324 8604
การเดินทาง
ใช้ถนนสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หรือ นั่งรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียง รวมระยะทางจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร
วัดร่องขุ่น เชียงราย
ภาพจาก http://www.thailovetrip.com/view-bangkok.php?id_view=58
วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ที่จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา วัดร่องขุ่นได้ต้นแบบการสร้างมาจาก วัดมิ่งเมือง ใน จังหวัดน่าน
ประวัติ
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
วัดร่องขุ่นแห่งนี้เป็นวัดพุทธ ซึ่งสังกัดอยู่ในฝ่ายมหานิกาย ไม่ใช่วัดฮินดูเหมือนดังที่จั่วหัวไว้ในวรรคแรก ซึ่งนั่นการนำเอาวัฒนธรรมแวดล้อมของตัวเองเข้ามาผสมผสานหรือถูกอิทธิของศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงบ้าง ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ตามพระบัญญัติแห่งคณะสงฆ์ไทยแล้ว วัดร่องขุ่น เป็น “วัดพุทธ” ไม่ใช่ “มหายาน”
ดอนาลโย ดอยบุษราคัม พะเยา
ภาพจาก http://www.thailovetrip.com/view-bangkok.php?id_view=128
ข้อมูล บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก
ที่อยู่ ดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่ที่ ม.สันป่าบง ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา มีพื้นที่ทั้งหมด 2500 ไร่
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ที่ตั้ง: ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ แผนที่
สร้างขึ้นกว่า 600 ปีก่อนและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตัวโบสถ์สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาแท้ที่มีทั้งปูนปั้นและรักปั้นปิดทองได้อย่างงดงาม หอไตรมีลักษณะเป็นครึ่งไม้ครึ่งปูน โดยครึ่งล่างเป็นปูนภายนอกประดับด้วยปูนปั้นรูปเทพและภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ และอีกหนึ่งศิลปะชิ้นเอกคือวิหารลายคำ ซึ่งมีลวดลายปูนปั้นและจิตรกรรมฝาผนังที่ปราณีตที่สุดแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ความสำคัญของวัดพระสิงห์มิได้มีเพียงสถาปัตยกรรมที่วิจิตรเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง (เนื่องจากองค์จริงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพ) พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของล้านนา และมีพระธาตุประจำปีมะโรงบรรจุในเจดีย์ทรงกลม ที่ชาวปีมะโรงควรมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัดโพธารามมหาวิหารหรือวัดเจดีย์เจ็ดยอด
ที่ตั้ง: ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลช้างเผือก แผนที่
เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นกว่า 500 ปีก่อน เป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งของเชียงใหม่ เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอดหรือวัดเจ็ดยอด เหตุที่ชื่อนี้เพราะมีพระเจดีย์เจ็ดยอด ที่สร้างด้วยศิลาแลงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปเทวดาที่ด้านนอกและฐานของตัวเจดีย์ และมียอดแบบทรงสิงขรทั้งหมดเจ็ดยอดด้วยกัน เจดีย์แห่งนี้สร้างคล้ายกับเจดีย์พุทธคยาในประเทศอินเดีย
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ที่ตั้ง: ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ แผนที่
เป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ ที่สร้างขึ้นใจกลางตัวเมืองเชียงใหม่ในสมัยราชวงศ์เม็งรายราวกว่า 600 ปีก่อน มีพุทธสถานที่สำคัญของชาวเชียงใหม่คือพระธาตุเจดีย์หลวง ซึ่งเดิมสูงประมาณ 80 เมตร ซึ่งสูงที่สุดในอาณาจักรล้านนา แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 40 กว่าเมตร เนื่องจากส่วนยอดหักลงมาเมื่อเกิดพายุฝนและแผ่นดินไหว ตัวฐานเป็นสี่เหลี่ยมแบบโลหะปราสาทของลังกา ซึ่งมีรูปปั้นช้าง 28 เชือกรายล้อม ทางขึ้นเป็นแบบบันไดนาคทั้ง 4 ด้านของเจดีย์ ส่วนรูปลักษณ์เจดีย์เป็นแบบพุกาม เจดีย์แห่งนี้ประดิษฐานพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ ทางด้านหลังของเจดีย์หลวง เราจะได้สักการะพระนอนองค์ใหญ่ และด้านหน้าของเจดีย์ มีวิหารหลวง ซึ่งภายในบูชาพระอัฎฐารสหล่อด้วยสำริดและมีบันไดนาคเลื้อยที่งดงามวิจิตรที่หน้าทางเข้าวิหาร ซึ่งพุทธสถานเหล่านี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนาจวบจนถึงปัจจุบัน
วัดโลกโมฬ
ที่ตั้ง: ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ แผนที่
เป็นโบราณสถานอีกแห่งที่มีอายุกว่า 500 ปี เป็นหนึ่งในวัดเพียงไม่กี่วัด ที่ไม่ได้ถูกเผาเมื่อครั้งตกเป็นเมืองขึ้นให้กับพม่า เมื่อมาถึงที่นี่ จะเห็นซุ้มประตูทางเข้าวัดเป็นลวดลายปูนปั้นสไตล์ล้านนา ภายในวัดมีวิหารซึ่งสร้างขึ้นใหม่ทดแทนวิหารเดิมที่เคยถูกปล่อยร้าง โดยใช้ศิลปะแบบล้านนาที่งดงามและประณีตด้วยลวดลายแกะสลักทั้งภายนอกและภายใน และมีพระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถเป็นพระประทานของวิหาร ซึ่งพระเมาลีขององค์พระเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ด้านหลังวิหารมีโบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้คือ เจดีย์วัดโลกโมฬี ที่สร้างขึ้นสมัยพระเมืองเกศเกล้า และต่อมาได้รับการพัฒนาปรับและสร้างต่อเติมจนมีความสูงดังที่เห็นในปัจจุบัน
ป้อมปราการและกำแพงเวียงเชียงใหม่
ที่ตั้ง: ใจกลางตัวเมืองเชียงใหม่ แผนที่
หรือที่เรียกภาษากลางว่า กำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นกำแพงชั้นในของเมืองหลวงในระหว่างที่สถาปนาอาณาจักรล้านนา โดยคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสแล้วนำดินที่ขุดขึ้นมาได้มาถมเป็นกำแพงเมือง ก่ออิฐด้านบน และต่อยอดกำแพงที่เป็นรูปใบเสมา ปัจจุบันกำแพงและป้อมปราการที่กำแพงนั้นได้พังและเหลือเพียงซากในเพียงบางส่วนเท่านั้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ที่ตั้ง: 451 หมู่ 2 ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (ถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง) ตำบลช้างเผือก แผนที่
เป็นศูนย์กลางการศึกษา อนุรักษ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งความเจริญของอาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือของไทย ทั้งในด้านธรรมชาติวิทยา โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม โดยเปิดให้บริการทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันปีใหม่และสงกรานต์ เวลา 9.00 – 16.00 น. ค่าเข้าชมสำหรับคนไทย 10 บาท และต่างชาติ 30 บาทเท่านั้น
ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
ที่ตั้ง: 185/3 ถนนวัวลาย ต.หายยา แผนที่
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบลิ้มลองอาหารพื้นเมืองพร้อมเพลิดเพลินไปกับการแสดงแล้วละก็ ไม่ควรพลาดมาเยือนศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่นี้ ที่ที่เราจะได้บรรยากาศแบบล้านนา ได้รับประทานอาหารดินเนอร์ขันโตกรสต้นตำหรับเชียงใหม่ ได้ชมการฟ้อนรำหลายรูปแบบทั้งอ่อนช้อยจนไปถึงแบบศิลปะป้องกันตัว และได้ชมการแสดงของชาวเขาหลากหลายเผ่าที่อพยพมาจากจีนตอนใต้ นอกจากกิจกรรมบันเทิงแล้ว ที่นี่ยังมีพิพิธภัณฑ์เรือนซ้อ-หงษ์ ซึ่งเดิมเป็นบ้านคหบดีสร้างเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เรียกว่า เรือนกาแลหรือเรือนเชียงแสน ที่มีการแกะสลักอย่างสวยงาม ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงความเป็นอยู่ของชางล้านนาในอดีต เครื่องเขินล้านนารูปแบบต่างๆ ผ้าโบราณ เครื่องจักสาน เครื่องแต่งกาย และโบราณวัตถุที่หาชมได้ยาก
อุทยานหลวงราชพฤกษ์
ที่ตั้ง: 225 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ แผนที่
มีพื้นที่กว้างถึง 468 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสครองราชครบ 60 ปี ใจกลางของอุทยานเป็นที่ตั้งของหอคำหลวง ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สัก-ไม้แดง โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบล้านนาแท้ตามแบบที่ประทับของเจ้าเมืองเชียงใหม่และพระราชวงศ์ชั้นสูง ภายในหอมีจิตรกรรมฝาผนังตามแบบล้านนาที่แสดงพระราชกรณียกิจ นอกจากนี้แล้ว อุทยานหลวงราชพฤกษ์ยังมีพรรณพืชเมืองร้อนเมืองหนาวกว่า 2,800 ชนิด สวนแมลง สวนไทย และสวนนานาชาติที่จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายพระองค์ท่าน มาที่นี่จะได้ทั้งยลศิลปะล้านนาชิ้นเอกและทั้งสุนทรีย์ไปกับการชมความงามของสวนและพฤกษาพรรณอีกด้วย
ถนนท่าแพ
ที่ตั้ง: บริเวณประตูเมืองท่าแพจนถึงถนนราชดำเนิน แผนที่
ปิดถนนให้กลายเป็นแหล่งชิมและช้อปเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา 17.00-22.00 น. เป็นถนนคนเดินที่ดังที่สุด ใหญ่ที่สุด และมีผู้คนไปเที่ยวมากที่สุด มีร้านอาหาร ร้านบริการนวด ร้านขายของทานเล่น และแผงลอยขายสินค้าสารพัด รวมถึงสินค้าพื้นเมืองสำหรับเป็นที่ระลึกและของฝาก เช่น ผ้าพันคอ กระเป๋า เครื่องประดับ โคมไฟ ร่มพื้นเมือง รับรองมีให้เลือกเพียบ!
เวียงกุมกาม
ที่ตั้ง: ทางตอนใต้อำเภอ สารภี ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน แผนที่
ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันซีนของเชียงใหม่ เป็นเมืองหลวงแห่งแรกในล้านนา เดิมตั้งขนานกับแม่น้ำปิง แต่เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ ทำให้น้ำท่วมใหญ่พัดพาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้ดินเมื่อราว 200-450 ปีก่อน และกลายเป็นเมืองที่ถูกลืม เวียงกุมกามเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากการขุดสำรวจและบูรณะเมื่อปีพ.ศ. 2527-2545 พบโบราณวัตถุ ซากโบราณสถาน และโบราณสถานกว่า 40 แห่ง ที่สำคัญได้แก่ กำแพงเมือง วิหารวัดกานโม (ศูนย์กลางของเมือง) วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ วัดหัวหนอง วัดธาตุขาว เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งยังคงลวดลายปูนปั้นอันวิจิตรไว้แม้อยู่ฝังใต้ดินนานหลายร้อยปี